GClub กับโอกาสในการทำงาน
พื้นฐานของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นผู้เล่น GClub เอง หรือว่าใครก็ตาม นอกจากจะมีความต้องการในเรื่องปัจจัยสี่ทางกายภาพ หรือเงินทองทั้งจากงานการที่ทำหรือจาก คาสิโนออนไลน์ แล้ว ยังมีความต้องการในด้านพื้นฐานจิตใจ อาทิ การได้รับคำยกย่อง การได้รับโอกาสในการทำงาน ความภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรี หรือเกิดมาหน้าตาดี เรือนกายนวลเนียน รูปโฉมงดงาม ฯลฯ
โดยเฉพาะปัจจัยอย่างหลังนับว่าเป็นบริบทสำคัญที่ถูกเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจ สามารถโยงใยเข้ากับหลักเศรษฐศาสตร์การจ้างงาน รวมถึงโอกาสในการทำงานของคนวัยหนุ่มสาว ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เคยได้มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกันระหว่างคนหน้าตาดีแต่มีศักยภาพในการทำงานไม่มากพอ กับคนที่หน้าตาด้อย แต่มีประสิทธิภาพด้านการทำงานที่เก่งกาจ ใครจะมีโอกาสถูกนายจ้างเลือกจ้างมากกว่ากัน ปรากฏว่า กลุ่มผู้สมัครกรุ๊ปแรกจะถูกเลือกรับเข้าทำงานมากกว่า อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทน (เงินเดือน, ค่าจ้าง, สวัสดิการ ฯลฯ) ที่สูงกว่า กลุ่มผู้สมัครกรุ๊ปที่สองประมาณร้อยละ 5 โดยส่วนต่างที่เหนือกว่าคนอื่นนี้ ได้ถูกบัญญัติคำคุณศัพท์ว่า Beauty Premium หรือความพิเศษอันเกิดจากความงาม
ศาตราจารย์ แดเนียล ฮาเมอร์เมช (Daniel Hamermesh) คือนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาทฤษฎีข้างต้น เขาพบว่าภาวะ BP นี้ ปรากฏอยู่ในทุกอุตสาหกรรม แม้แต่ในภาคที่ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับเรื่องความงาม เช่น การศึกษา สาธารณกุศล คำถามก็คือนายจ้างต้องการคนสวยคนหล่อไว้ทำงานรอบข้าง หรือว่ามีหลักฐานใดสนับสนุนความเชื่อมโยงระหว่างความงามกับความสามารถในการทำงาน
ผู้จ้างงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกที่ชื่นชอบความงาม ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะเอนเอียงไปในทิศทางของการจ้างคนหน้าตาดีเข้าทำงาน และจากการศึกษาของ Hamermesh ยังพบด้วยว่าในบางอุตสาหกรรมที่ต้องมีการพบหน้าลูกค้าเพื่อเจรจาธุรกิจ คนที่หน้าตาดีสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทเหนือกว่าคนหน้าตาธรรมดา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่จำเป็นที่หลักการดังกล่าวจะเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องในทุกอุตสาหกรรมและในทุกลักษณะของงาน เขาจึงสรุปว่าเหตุผลที่น่าเชื่อว่าเป็นจริงในการจ้างคนหน้าตาดีก็คือความเอนเอียงของสังคมในการเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความงามและความสามารถในการทำงาน
งานวิจัยของ Hamermesh พบว่าความงามมีส่วนเกี่ยวพันกับคุณลักษณะในเรื่องสุขภาพ กรรมพันธุ์ที่ดี และความฉลาด ซึ่งหมายความว่ามันช่วยไม่ได้ที่คนเหล่านี้หน้าตาดีกว่าคนอื่น จึงได้รับประโยชน์จากสังคมที่เอียงเอนในการใช้วิจารณญาณที่ไม่ถูกต้องในการจ้างคนทำงาน
ต่อมานักเศรษฐศาสตร์สองคนคือ Mark Mobious และ Tanya Rosenblat ศึกษาโดยใช้การทดลองในห้องแล็บกับคนหน้าตาดี คนหน้าตาธรรมดา และผู้สัมภาษณ์เข้าทำงาน โดยมีรูปถ่าย resume’ ร่วมกับการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ประกอบ ทั้งสองคนให้ผู้สมัครเล่นเกม Puzzle เพื่อเป็นตัววัดศักยภาพในการทำงาน และให้ระบุว่าประสงค์จะเล่นปริศนากี่ชิ้น (เป็นตัววัดคร่าวๆ ในเรื่องความมั่นใจ)
จากนั้นทั้งสองก็เอาผลลัพธ์ของผู้สมัครมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยพบว่าคนหน้าตาดีจะมีความมั่นใจกว่าโดยเฉลี่ย (ผลทดสอบระบุว่าคนหน้าตาดีจะเล่น Puzzle มากกว่า) นายจ้างจึงมีแนวโน้มจะรับคนหน้าตาดีมากกว่า (พิจารณาจากรูปถ่ายและฟังจากเสียงการสัมภาษณ์ประกอบ) ทั้งที่เพียงได้ยินเสียงทางโทรศัพท์ ซึ่งทั้งคู่สรุปว่า
- นายจ้างคิดว่าคนที่มี BP จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยสรุปจากความเชื่อมั่นที่ได้เห็นรูปถ่ายและน้ำเสียงทางโทรศัพท์
- นายจ้างคาดว่าคนที่หน้าตาดีจะมีความสามารถในการทำงานสูงกว่า
ข้อมูลที่ได้ของทั้งสองถือว่าตรงข้ามกับ Hamermesh ที่เชื่อว่า BP มาจากสิ่งที่ถูกกำหนดมาโดยธรรมชาติ และนายจ้างเอนเอียงเอง กล่าวคือทั้งคู่เชื่อว่าคนหน้าตาดี มีความมั่นใจในตัวเองมากกว่า รวมทั้งโน้มน้าวให้นายจ้างเชื่อว่าน่าจะมีความสามารถในการทำงานสูงกว่า และความเชื่อมั่นนั้นผู้สมัครสามารถสร้างขึ้นมาได้
คำถามก็คือทำไมคนหน้าตาดีถึงมีความมั่นใจตัวเองมากกว่าคนหน้าตาธรรมดา? ก็ต้องพิจารณาเหตุการณ์ในวัยเด็ก สังเกตได้จากการที่เขาได้รับคำชื่นชมจากผู้ปกครอง คุณครูประจำชั้น และคนทั่วไปที่พบเห็น และเมื่อได้รับคำชื่นชมเหล่านี้บ่อยๆ เข้า บุคคลดังกล่าวย่อมเกิดพลังอัตรา โดยแสดงออกทางท่วงท่า การสนทนา ภาษากาย ฯลฯ ให้คนอื่นได้รับทราบ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ได้ทำงานดีไปกว่าคนหน้าตาบ้านๆ แต่อย่างใด
ประเด็นต่อมาคือ เมื่อโลกมันไม่เป็นธรรมอย่างนี้เพราะความเอนเอียงเข้าข้างคนหน้าตาดี และเหตุผลร้อยแปดอื่นๆ ในการจ้างคนมี BP เข้าทำงานแบบนี้ แล้วคนหน้าตาพื้นๆ ไม่สวยไม่หล่อจะต้องน้อยเนื้อต่ำใจ ถอดใจ ไม่ทำอะไรเลยอย่างนั้นหรือ คำตอบก็คือไม่แน่นอน
ความจริงของโลกก็คือคนหน้าตาธรรมดาที่แต่งตัวเป็น เสริมสวยเป็น พูดจาดี มีบุคลิกภาพดี ได้รับการฝึกหรือพัฒนาบุคลิกภาพ ก็สามารถกลายเป็น “คนที่ดูดี” ต่อสู้เทียบเคียงกับคนหน้าตาดีเหล่านี้ได้ในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งยังไม่นับการใช้เทคโนโลยีน่าหวาดเสียวต่างๆ เข้าช่วย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเคยผ่าตัด หรือผ่านศัลยกรรมความงาม แต่ถ้าบุคลิกภาพไม่ดี ความเชื่อมั่นที่ออกมาแคบกลวงไร้เสน่ห์ ก็ไม่สามารถหาประโยชน์จาก ‘Beauty Premium’ ที่มี หรือเสียโอกาสอย่างเปล่าประโยชน์ ฉะนั้นถ้าหากเรารู้ตัวว่าตนเองมี จุดบกพร่องอะไรตรงไหน แล้วรีบหาวิธีจัดการ ‘ลบปมด้อย’ จุดบกพร่องดังกล่าว ก็สามารถต่อสู้เทียบเคียงกับคนที่มี BP เหล่านี้ได้อย่างสบาย
อีกทั้งงานวิจัยในเรื่องความงามกับเศรษฐศาสตร์ยังพบอีกว่าในคนวัยสูงอายุ ความงามของผู้หญิงสำคัญกว่าผู้ชาย ลักษณะผมสีเทาและรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าของผู้ชายจะแสดงชี้ชัดถึงความภูมิฐาน แต่ในกรณีของสุภาพสตรีกลับเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความร่วงโรยชราภาพ ดังนั้นผู้หญิงจึงจำเป็นจะต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องดังกล่าวมากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกันเพิ่มเป็นสองเท่า
เมื่อผู้คน “บูชา” ความสวยความหล่อ และเกิดปรากฏการณ์ BP ขึ้นจนได้งานง่ายและดีกว่าคนอื่นๆ คนบางคนที่เกิดมาโชคดี หรือเกิดมาโชคไม่เข้าข้าง แต่มีความมุ่งมั่นจะเป็น “คนหน้าตาดี” ให้ได้จึงมีภาระหนัก เมื่อได้งานแล้วก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนเองเป็นคนมีกึ๋นและความสามารถในการทำงาน เพราะประเด็นหลักๆ คือนายจ้างเขาจ้างเราทำงานตราบที่คุณค่าของงานที่เราทำให้เขานั้นสูงกว่าค่าจ้าง
ในการสำรวจผู้จ้างงานของบริษัทใหญ่ 202 คน และผู้คนอีก 964 คน ของนิตยสาร Newsweek นั้นพบว่าในทุกวันนี้การเป็นคนหน้าตาดีและการทำให้ตัวเองเป็นคนน่ามองเป็นปัจจัยสำคัญในการสมัครงานทุกสาขาวิชาชีพ ผู้จ้างเหล่านี้ได้ให้ลำดับของลักษณะผู้สมัครงานที่ต้องการไว้ดังนี้ (1) ประสบการณ์ (2) ความเชื่อมั่น (3) ความงาม (4) สถาบันการศึกษาที่จบมา
คำแนะนำของผู้จ้างเหล่านี้คือ “ถ้าหน้าตาดีแต่อย่างอื่นธรรมดา จะดูมีภาษีมากกว่าคนที่มีศักยภาพการทำงานสูง แต่หน้าตาดูไม่ได้”
ขอฝากข้อคิดเอาไว้ในช่วงท้าย…. คุณคิดว่าต้นทุนในการทำให้ ‘หน้าตาดี’ คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตมากน้อยเพียงใด?<